| | | | ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ |
|
รอข้อมูล....
| |
|
| |
1.ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา
ชื่อสถานศึกษา : วิทยาลัยเทคโนโลยีตากสินบริหารธุรกิจ
ที่ตั้ง : เลขที่ 79 หมู่ 4 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 22150
โทรศัพท์ : 039-389555
โทรสาร : 039-389555
Website : www.Tbac.ac.th
E-mail : thunkarn9@gmail.com
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 / สำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดจันทบุรี เขต 2 สังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
2. ข้อมูลความเป็นมา
2.1 สภาพสังคมของชุมชน
อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี (ดูประวัติเมืองจันท์) เดิมเรียกว่า “อำเภอท่าหลวง” ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2422 โดยมีพระพลสงครามเป็นนายอำเภอคนแรก ซึ่งก่อนหน้านั้นเป็นด่านสำหรับเก็บส่วยอากร ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำจันทบุรี ที่ตั้งตำบลท่าหลวงปัจจุบัน ต่อมาการค้าขายได้เจริญขึ้น มีการติดต่อค้าขายกับประเทศเขมร โดยใช้เส้นทางผ่านอำเภอมะขามไปยังอำเภอโป่งน้ำร้อน และข้ามไปประเทศเขมรกันมากขึ้น เพื่อความสะดวกต่อการเก็บส่วยอากร จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งอยู่ ณ บ้านมะขามในปี พ.ศ. 2540 และ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอมะขาม”
สาเหตุที่ได้ชื่อว่า “มะขาม” เล่าต่อกันมาว่าในขณะนั้นพื้นที่อำเภอมะขามเป็นป่าดงดิบมีสัตว์ดุร้าย ไข้ป่าชุกชุม ทำให้ผู้ที่ผ่านไปมาประสบภัยอยู่เป็นเนือง ๆ การเดินทางไม่มีถนนเหมือนในปัจจุบัน การคมนาคมติดต่อกับในจังหวัดที่สะดวกที่สุดได้แก่ การใช้เส้นทางแม่น้ำจันทบุรีโดยทางเรือ ใช้เวลาเดินทางหลายชั่วโมง การเดินทางโดยทางบกต้องใช้ม้าหรือเกวียน เป็นพาหนะเดินทางผ่านเขาลัดเลาะไปตามแนวป่ากินเวลาเดินทางประมาณ 2 วัน จึงจะถึงตัวเมือง ทั่ง ๆ ที่ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตรเท่านั้น การมีสิ่งแวดล้อมเป็นป่าเขา จึงมีสัตว์ร้ายนานาชนิดชุกชุม รวมทั้งไข้ป่าหรือที่เรียกว่า “ไข้มาลาเรีย” ทำให้มักมีการเสียชีวิตระหว่างเดินทาง ผู้ที่ไม่เคยมา เมื่อมาถึงแล้วหลังจากกลับก็ไม่กล้ามาอีก เพราะความขยาดต่อความทุรกันดาร และพากันขนานนามว่า “มาขาม” ต่อมาได้เลือนเป็น “มะขาม”
สภาพทางภูมิศาสตร์ อำเภอมะขามตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดจันทบุรี
ระหว่าเส้นที่ 12.30 - 12.35 องศาเหนือและเส้นแวงที่ 102-102.15 องศาตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมด 574,322 ตารางกิโลเมตร ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม ประมาณพิกัด เอสวี 959024
การคมนาคม มีเส้นทางมาตรฐานตัดผ่านพื้นที่เป็นถนนลาดยาง ทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอ ได้แก่ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 (จันทบุรี-สระแก้ว) ระยะทางที่ผ่านประมาณ 30 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นจากเขตอำเภอเมืองผ่านอำเภอมะขาม ไปสู่อำเภอโป่งน้ำร้อน อีกสายหนึ่งผ่านตำบลอ่างคีรีเชื่อมต่ออำเภอขลุง ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร
ลักษณะอากาศโดยทั่วไป มีความชุ่มชื้นสูง และมีฝนตกเกือบตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย2,200-2,570 มิลิเมตร/ปี อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส ประกอบด้วย 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนเมษายน
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ กลางเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ กลางเดือนตุลาคม ถึง เดือนมกราคม
ทรัพยากรธรรมชาติ ภูเขา มีภูเขาอยู่ในพื้นที่จำนวนมาก มีระดับความสูงระหว่าง 500-1,400 เมตร ภูเขาที่สำคัญได้แก่ ภูเขาสระบาป ภูเขาอ่างราบ ภูเขาชะอม ภูเขาบรรจบ แหล่งน้ำธรรมชาติ แม่น้ำจันทบุรี มีต้นน้ำจากเทือกเขาสอยดาว ไหลผ่านตำบลต่าง ๆ คือ ตำบลวังแซ้ม ตำบลมะขามและตำบลท่าหลวง เป็นแหล่งน้ำหลักของอำเภอ เกษตรกรประมาณร้อยละ 70 ใช้แหล่งน้ำในการเกษตร คลองปรือ มีต้นน้ำจากเขื่อนคีรีธาร ไหลผ่านตำบลปัถวี และตำบลฉมันความยาวประมาณ 15 กิโลเมตร
2.2 สภาพเศรษฐกิจของชุมชน
อาชีพหลัก ทำสวน รับจ้าง จังหวัดจันทบุรี เป็นแหล่งเจียระไนพลอยที่สำคัญและยังคงมีเอกลักษณ์ของตนเองที่สามารถดำเนินธุรกิจได้อีกนาน เนื่องจากรู้วิธีการเพิ่มคุณค่าของอัญมณีที่ได้มาจากท้องถิ่นและต่างประเทศ ทำให้อัญมณีและเครื่องประดับมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของจังหวัด ในปัจจุบันชาวจันทบุรีส่วนหนึ่งที่แต่เดิมยึดอาชีพเจียระไนพลอยได้เปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่น เมื่อภาวะเศรษฐกิจที่จะฟื้นตัวในโอกาสต่อไปแม้ว่า จังหวัดจันทบุรีจะชื่อเสียงด้านการเจียระไนพลอย แต่ก็ยังคงมีปัญหาสำคัญ ได้แก่ การรับรองมาตรฐานสินค้า และขาดการส่งเสริมการตลาดที่จะขยายตลาดเดิมและเจาะตลาดใหม่ที่จะเข้าถึงผู้ซื้อโดยตรง ดั้งนั้น จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานพลอยไทย กำหนดมาตรฐานการประกันคุณภาพสินค้า อัญมณีและเครื่องประดับเพื่อให้สามารถกำหนดราคาและออกใบรับรองเป็นไปตามผลการตรวจวิเคราะห์รวมทั้งส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ด้านการตลาด เพื่อสร้างการรับรู้และยอมรับในมาตรฐานพลอยไทย
จังหวัดจันทบุรี เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสูงในการผลินสินค้าเกษตร เนื่องจากมีสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม จึงมีความอุดมสมบูรณ์ด้าน อาหารที่มีคุณภาพ มาตรฐานสากล ที่นอกจากจะใช้บริโภคภายในจังหวัดแล้ว ยังส่งออกต่างประเทศ ที่ถือได้ว่าเป็นครัวของโลกแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญของประเทศ ประกอบด้วย ทุเรียน เงาะ มังคุด
2.3 ข้อมูลประวัติสถานศึกษา
วิทยาลัยเทคโนโลยีตากสินบริหารธุรกิจเป็นสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๒ จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ตั้งอยู่เลขที่ ๗๙ หมู่ ๔ บ้านนาไทร ตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี บนพื้นที่ ๓๒ ไร่ หรือ ๕๑,๒๐๐ ตารางเมตร และได้อันเชิญพระนามของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถือเป็นที่เคารพสักการะของคนไทยทั้งประเทศ และได้รับอนุญาตทางราชการให้เป็นชื่อของ วิทยาลัยเทคโนโลยีตากสินบริหารธุรกิจ เป็นสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จันทบุรี เขต ๒ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีท่านธัญกาญจน์ อัครเดชเดชา เป็นผู้ก่อตั้งและรับใบอนุญาต ผู้ซึ่งมีจิตอันกุศลอย่างแร่งกล้าที่อยากเห็นเด็กและเยาวชนของจังหวัดจันทบุรีจังหวัดภาคตะวันออกมีสถานศึกษาที่มีคุณภาพได้ศึกษาเล่าเรียน และคาดหวังว่าสักวันหนึ่งพวกเขาเหล่านั้นจะได้นำวิชาความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพในอนาคตข้างหน้า ระยะแรกวิทยาลัยเทคโนโลยีตากสินบริหารธุรกิจเดิมชื่อว่าโรงเรียนตากสินทิพย์ เทคโนโลยี จันทบุรี ต่อมาได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนตากสินบริหารธุรกิจ ชื่อภาษาอังกฤษคือ TAKSIN BUSINESS ADMINISTRATIVE SCHOOL และได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีตากสินบริหารธุรกิจ ชื่อภาษาอังกฤษ Taksin Business Administrative Technological College เนื่องจากเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการศึกษาในปัจจุบันและเป็นไปตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๔ โดยวิทยาลัยเทคโนโลยีตากสินบริหารธุรกิจได้เปิดสอนประเภทอาชีวศึกษา ทำการเรียน การสอน ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีความจุนักเรียนสูงสุด ๑,๔๔o คน ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ ๗๙ หมู่ ๔ ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี โทรศัพท์ o๓๙-๓๘๙๕๕๕, o๘๖-๓๔๔๙๕๘๘, o๘๖-๓๔๔๙๕๙๕ โทรสาร o๓๙-๓๘๙๕๕๕ เว็บไซต์ www.tbac.ac.th, e-mail : thunkarn9@gmail.com เครื่องหมาย/ตราของโรงเรียนคือ สัญลักษณ์รูปใบโพธิ์ แสดงถึงศีล สมาธิ ปัญญา สัญลักษณ์รัศมี แสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง และแสงสว่างแห่งปัญญา สัญลักษณ์เฟือง เปรียบเสมือนกระบวนการจัดการของทางโรงเรียนที่จะทำให้นักเรียนมีทักษะ มีความเข้าใจ ในการที่จะใช้ความรู้ในสาขาที่เรียนให้คิดเป็น ลงมือปฏิบัติได้อย่างมีคุณภาพ และมีคุณธรรมประจำใจเหมือนดังเฟืองที่กำลังขับเคลื่อนกันอย่างต่อเนื่องส่งผลให้นักเรียนมีศักยภาพเกิดขึ้นในทุกๆด้าน อักษรย่อ วตบ. |
| |
|
| | | สถิติเว็บไซต์ |
วันที่เปิด |
07/01/2019 |
วันที่อัพเดทล่าสุด |
07/08/2021 |
ดูทั้งหมด |
819 |
Pageview |
0 |
|
|
|
|
|
| FAQ คำถามที่พบบ่อย
เพิ่มคำถามที่พบบ่อยได้ที่นี้ค่ะ
| |
|
|
|